วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

นวัตกรรมท้องถิ่น อำเภอเชียงคำ : ผ้าทอไทลื้อ

นวัตกรรมท้องถิ่น อำเภอเชียงคำ : ผ้าทอไทลื้อ


ผ้าฝ้ายทอมือไทลื้อ

ผ้าทอไทลื้อ เป็นการทอผ้าที่สืบทอดกันมาช้านาน นับเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีลวดลายเฉพาะคือผ้าทอลายไทลื้อผสมลายน้ำไหลและมีการทอผ้าเช็ดหน้า ตุงที่ใช้ประดับในงานเทศกาลต่าง ๆ  สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผ้าตัดเสื้อ ผ้าถุง ผ้าคลุมเตียง ผ้าคลุมไหล่ ฯลฯ ซึ่งมีลวดลายต่าง ๆ อาทิ ลายขิด ลายน้ำไหล และลายจก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการทำผ้าบาติกที่ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง และผ้าซิ่นฝ้ายทอมือที่ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ
วัตถุดิบที่ใช้
               
ฝ้ายที่มีในท้องถิ่น
กระบวนการผลิต                 นำเส้นด้ายมากรอเข้ากับที่กรอด้าย และนำเข้าไปที่เครื่องทอผ้ากี่กระตุก ทำการทอตามลวดลายที่ต้องการ
การใช้/ประโยชน์
                ใช้สำหรับตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นผ้าเช็ดหน้า
 
 
 

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์


เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลับซับซ้อน ( Conplexity ) น่าอัศจรรย์ที่มีความสามารถยิ่ง ซึ่งนับวันจะสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีต คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าศึกษา เริ่มจากเดิมมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึก จนกระทั่งการพาณิชย์มีการพัฒนาขึ้น พ่อค้าชาวแบบีลอน (Babylonian) ได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tablets สำหรับการคำนวณ อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Blaise Pascal ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline ในปี พ.ศ. 2215 Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันได้พัฒนา pascaline โดยสร้างเครื่องที่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่ามีความแม่นยำขนาดไหน ต่อมาในปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Chales Babbage ได้สร้างดิฟเฟอเรนซ์แอนจิน difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และคิดว่าจะสร้างแอนะลีติคอลเอนจิน (analytical engine ) ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จึงมีผู้ยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร จนกระทั่วในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้าง automatic calculating machine เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith ด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I การทำงานภายในตัวเครื่องถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย electromagnetic relays และ arthmetic counters ซึ่งเป็น mechanical ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้สร้างเครื่อง ABC ( Atanasoft-Berry Computer ) โดยใช้หลอดสูญญากาศ ( vacuum tubes) และในปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. พัฒนาเพิ่มเติมบนหลักการออกแบบพื้นฐานของ Dr. Atanasoff เพื่อสร้าง electronic computer เครื่องแรกชื่อ ENIAC แต่ยังไม่เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดเก็บโปรแกรมได้ ( stored program ) จึงได้รับการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และพัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC ( Universal Automatic Computer ) ในที่สุด
ถ้าจะจำแนกยุคของคอมพิวเตอร์ ( Computer generations ) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแล้วก็จะพอจะพิจารณาได้คือ
  1. ยุคแรก ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ เป็นแบบบัตรเจาะรู
  2. ยุคที่สอง ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์เป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ ( Sequential Processing )
  3. ยุคที่สาม ใช้เทคโนโลยีของไอซี (integrated circuit, IC) เป็นแบบจานแม่เหล็กลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน ( Multiprogramming ) และออนไลน์ ( on-line)
  4. ยุคที่สี่ ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ ( Large-scale integration,LSI ) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ( microprocessor ) กล่าวได้ว่า "Computer on a chip" ในยุคนี้
จากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวได้ว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีการเคลื่อนไหวเสมอ ( dynamics) และไม่ค่อยยืดหยุ่น ( rigid ) มากนัก เช่น ถ้ามีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย บางครั้งอาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง ขณะนั้นมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้

แหล่งที่มา : วิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดย วรรณวิภา จำเริญดารารัศมี

แผนการสอนวิชาภาษาไทย

แผนการสอนที่ ๑๑
รหัสวิชา  ๒๐๐๐๑๑๐๒                      วิชา ภาษาไทยเพื่ออาชีพ ๒    ()
หน่วยที่ ๑๐          คาบที่ ๒๑๒๔       ชื่อหน่วย  การแต่งคำประพันธ์


แนวคิด
                การแต่งคำประพันธ์ชนิดต่างๆ ได้แก่ ร่าย โคลง กาพย์ และกลอน เป็นการเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อแสดงถึงอารมณ์ ความคิด อุดมการณ์ ตลอดจนเป็นการฝึกทักษะ เพื่อสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ การแต่งคำประพันธ์ควรแต่งตามรูปแบบฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละชนิด โดยอาจจะแต่งตามขนบนิยม หรือสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่เพื่อมุ่งเน้นเนื้อหาสาระตามความเหมาะสม

สาระการเรียนรู้

                .    ความหมายของคำประพันธ์
                .   ประเภทของคำประพันธ์
                .   กลวิธีการแต่งคำประพันธ์
                .   การนำเสนอเนื้อหา และแนวคิดของคำประพันธ์ที่ใช้ในงานอาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                .    อธิบายความหมายของคำประพันธ์ได้
                .   สามารถอธิบายลักษณะฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ได้
                .   อธิบายกลวิธีการแต่งคำประพันธ์แต่ละชนิดได้
                .   อธิบายกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาและแนวคิดของคำประพันธ์ได้
                .   แต่งคำประพันธ์ที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
                .    มีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ผู้สอนสามารถสังเกตเห็นได้ ในด้านความมีมนุษยสัมพันธ์  ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อมั่นในตนเอง ความสนใจใฝ่รู้ ความรักสามัคคี ความกตัญญูกตเวที ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การ
พึ่งตนเอง

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำเข้าสู่หน่วยการเรียน

                .    ให้นักศึกษาดูคำประพันธ์ (กลอนสุภาพ) จากแผ่นใส และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับฉันทลักษณ์
                .   อาจารย์อธิบายลักษณะฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพ ให้นักศึกษาฟังอีกครั้ง

                ขั้นสอน
                ตอนที่ ๑
                .   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
                .   ให้นักศึกษาทุกกลุ่มศึกษาความหมายและประเภทของคำประพันธ์ และกลวิธีการแต่งคำประพันธ์แต่ละชนิด ดังนี้
                   กลุ่มที่ ๑        คำประพันธ์ประเภทโคลง
                 กลุ่มที่ ๒       คำประพันธ์ประเภทกาพย์
                  กลุ่มที่ ๓        คำประพันธ์ประเภทกลอน
                  กลุ่มที่ ๔        คำประพันธ์ประเภทร่าย
                .   ให้นักศึกษาส่งตัวแทนกลุ่มออกมาอธิบายให้เพื่อนๆ ฟัง
                .    อาจารย์และประธานกลุ่มประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม และประเมินผลการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน จดบันทึกคะแนนไว้
                .   อาจารย์อธิบายฉันทลักษณ์เสริม โดยใช้แผ่นใส เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละประเภทได้ดียิ่งขึ้น
                .   ให้นักศึกษาอภิปรายซักถามข้อสงสัย

                ตอนที่ ๒
                .    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
              ๑๐.   อาจารย์แจกใบงานที่ ๑ เพื่อให้นักศึกษาช่วยกันแต่งคำประพันธ์
             ๑๑.   ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งคำประพันธ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง เพื่อแสดงความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความยาวไม่น้อยกว่า ๕ บท
              ๑๒.  ให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน
             ๑๓.  อาจารย์และประธานกลุ่มประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม และประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน จดบันทึกคะแนนไว้
              ๑๔.  อาจารย์สรุปและชี้แนะข้อดีข้อเสียของผลงานนักศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

                ตอนที่ ๓
              ๑๕.  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
              ๑๖.   ให้นักศึกษาทุกกลุ่มศึกษากลวิธีการนำเสนอเนื้อหาและแนวคิดของคำประพันธ์
              ๑๗.  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกลวิธีการนำเสนอเนื้อหาและแนวคิดของคำประพันธ์ยิ่งขึ้น
              ๑๘.  ให้นักศึกษาอภิปรายซักถามข้อสงสัย

                ตอนที่ ๔
              ๑๙.   ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม
              ๒๐.  อาจารย์แจกใบงานที่ ๒  เพื่อให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มศึกษารูปแบบ แนวคิด  และการใช้ภาษาของคำประพันธ์
              ๒๑.  ให้นักศึกษาจดบันทึกและให้ตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
             ๒๒. อาจารย์และประธานกลุ่มประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม และประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
             ๒๓. อาจารย์สรุปรูปแบบและแนวคิดหลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานครบแล้ว

                ขั้นสรุปและการประยุกต์
              ๒๔. อาจารย์สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาหน่วยที่ ๑๐
              ๒๕. ให้นักศึกษาซักถามข้อสงสัย
              ๒๖.  ให้นักศึกษาทำแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ ๑๐
              ๒๗. ให้นักศึกษาตรวจคำตอบจากแผ่นใส และประเมินตนเองจากแบบประเมินตนเอง

  สื่อการเรียนการสอน
                .    หนังสือเรียนวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ ๒
                .   แผ่นใสฉันทลักษณ์ชนิดต่างๆ
                .   แผ่นใสคำประพันธ์ตัวอย่าง
                .   ใบงานที่ ๑ และ ๒
                .   แผ่นใสเฉลยแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ ๑๐

การวัดผลและการประเมินผล
                วิธีวัดผล
                .    สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล/กลุ่ม
                    ประเมินการนำเสนอผลงานรายบุคคล/กลุ่ม
                .   ตรวจแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ ๑๐
                .   สังเกตและประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยอาจารย์และนักศึกษา

                เครื่องมือวัดผล
                .    แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล/กลุ่ม
                    แบบประเมินการนำเสนอผลงานรายบุคคล/กลุ่ม
                .   แบบประเมินตนเอง หน่วยที่ ๑๐ (ในหนังสือเรียน หน้า ๑๖๗)
                .   แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

                เกณฑ์การประเมินผล
                .    การสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคล/กลุ่ม               
                .   การประเมินการนำเสนอผลงานรายบุคคล/กลุ่ม                     
                .   การประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ ๑๐                                      
                .   การประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประเมินเป็นไปตามสภาพจริง

บันทึกหลังการสอน





ใบงาน
การแต่งคำประพันธ์

จุดประสงค์          เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในฉันทลักษณ์ และกลวิธีการแต่งคำประพันธ์ และสามารถแต่งคำประพันธ์ได้

คำสั่ง              .    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการ ร่วมกันแต่งคำประพันธ์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ตนสนใจ เพื่อแสดงแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความยาวไม่ต่ำกว่า
๕ บท
                        .   จดบันทึกผลงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ใบงานที่ ๒
รูปแบบและแนวคิดของคำประพันธ์

จุดประสงค์          เพื่อให้นักศึกษาอธิบายรูปแบบและแนวคิดของคำประพันธ์ได้

คำสั่ง              .    ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม เลือกประธานและเลขานุการกลุ่ม ศึกษากิจกรรม
ส่งเสริมการเรียนรู้จากหนังสือเรียน หน้า ๑๖๑ และร่วมกันอภิปรายประเด็นต่างๆ ดังนี้
                                                )   รูปแบบ
                                                )  แนวคิด
                                                )   การใช้ภาษา
                        .   จดบันทึกผลงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน




วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายพิพัฒน์พงษ์  นามสกุล  กาตาบุตร  อายุ  24  ปี 
เกิดวันจันทร์  ที่  1  ธันวาคม  พ.ศ.  2529  พี่น้อง  3  คน  เป็นคนที่  2 
การศึกษา ระดับอนุบาล : โรงเรียนอนุบาลคุณากรวิทยา
                 ระดับประถม : โรงเรียนบ้านหย่วน(เชียงคำนาคโรวาท)
                 ระดับมัธยมตอนต้น :  โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม
                 ระดับมัธยมตอนปลาย : โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม
                 ระดับปริญญาตรี : มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา  ศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
สถานที่ทำงาน  :  วิทยาลัยการอาชีพเชียงคำ
ที่อยู่  :  บ้านเลขที่  210/127  หมู่ที่  4  ตำบลเชียงบาน  อำเภอเชียงคำ  จังหวัดพะเยา  56110 
ส่วนสูง : 167  น้ำหนัก : 50  สิ่งที่ชอบ :  ธรรมชาติ  น้ำตก  ภูเขา  ทะเล
กีฬาที่ชอบ : บาสเกตบอล  อาหารที่ชอบ : กระเพราหมูกรอบ
กิจกรรมยามว่าง :  อ่านหนังสือ 
คติ : ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
สีที่ชอบ : ฟ้า